เรื่องคิลท์ๆของชายใส่กระโปรง

         

 

Kilt Scotland

 

 

คิลท์(Kilt) เครื่องแต่งกายกระโปรงที่กลายมาเป็นของประจำชาติคู่กายชายสก็อตนั้น มีเรื่องราวและประวัติที่ยาวนาน คิลท์เป็นเครื่องแต่งกายของชาวสกอตแลนด์ที่ราบสูง หรือรู้จักในอีกชื่อว่า ไฮแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 16  โดยในตอนต้นนั้น คิลท์เป็นแค่เพียงผ้าชิ้นยาวๆ ที่ใช้สำหรับพันรอบเอวคล้ายผ้าขาวม้าบ้านเรา แต่ในส่วนความยาวที่เลยมานั้นจะนำไปพาดไว้กับบ่า ถือเป็นอันเสร็จ และค่อยนำเข็มกลัดหรือเครื่องประดับอื่นๆมาประดับอีกครั้ง 

 

คิลท์ในตอนต้นจะถูกเรียกว่า “คิลท์ใหญ่”(great kilt) โดยในภายหลังก็จะมีการปรับเปลี่ยนต่อมาจนมาเป็นคิวท์ที่สามารถใส่ได้ง่าย สบายและเป็นทางการอย่างปัจจุบัน

Kilt สก็อตแลนด์

 

ลวดลายประจำชาติ

ในตอนต้นของคิลท์(Kilt) นั้นเป็นเพียงผ้าสีเรียบๆชิ้นยาวๆเท่านั้น ซึ่งได้มีการนำลวดลายสมาใส่ลงไปในผืนผ้าจนเป็นที่นิยมแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน โดยลวดลายที่นิยมนำมาใส่กับผืนผ้านั้นเรียกว่า ลายทาร์ทัน(Tartan) หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่าลายสก็อตนั้นเอง สีของลวดลายที่นำมาจะนิยมใช้เป็นสีเขียวเข็ม สีแดงเข้ม และสีดำ ที่สกัดจากสีธรรมชาติ

 

ไม่ใช่แค่ลายสก็อตเท่านั้นที่ถูกนำมาไว้บนคิลท์ ยังมีลวดลายอื่นๆด้วยอีกเหมือนกันที่ถูกนำมาใส่ไว้และนำมาทำคิลท์ไม่ว่าจะป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันต่างๆ หน่วยงานต่างๆ หรือลายผ้าประจำเมืองนั้นๆ

 

ลายสก็อตที่คนไทยเห็นนั้น จริงๆแล้วต้นกำเนิดมาจากลวดลายประจำตระกูลต่างๆของชาวสก็อตที่ออกแบบทั้งสีทั้งลวดลายมาใส่ไว้บนเนื้อผ้า และนำมาใส่ไว้กับเครื่องแต่งกายต่างๆนั่นเอง

 

kilt สก็อตแลนด์

 

บทบาทของคิลท์
คิลท์(Kilt) จะถูกสวมใส่ในหลากหลายโอกาส ตั้งแต่ชุดลูกเสือ งานพรอม(Prom) งานแต่ง งานสำคัญต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องแบบนี้เป็นเครื่องแบบสำคัญที่ชาวสกอตแลนด์ให้ความสำคัญ และภาคภูมิใจอย่างมากในการสวมใส่แต่ละครั้ง

 

คิลท์(Kilt) ยังเคยเป็นเครื่องแบบของทหารสก็อตแลนด์ที่สวมใส่ขณะออกไปรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย ซึ่งทหารชาวเยอรมันได้ขนานนามกองทหารเหล่านี้ว่า “สตรีจากนรก” (Ladies from Hell)

 

และหากชายใดที่จะเป่าปี่สก็อตในงานต่างๆ ชายนั้นต้องสวมใส่คิลท์เท่านั้นด้วย เหมือนเป็นข้อบังคับอย่างหนึ่งของชาวสก็อตแลนด์เขาเลย

 

กระโปรงคิลท์ สก็อตแลนด์

 

คิลท์ (Kilt) ใส่แล้วลูกดก!!
ใช่แล้วครับ มีผลวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงวารสารสกอตติช เมดิคัล เจอนัล ของ ดร.เออร์วิน คอมแพนจ์ เผยว่าการสวมคิลท์นั้น โดยต้องนุ่งแบบดั้งเดิม(ไม่สวมชั้นใน)ทำให้เกิดภาวะที่สบาย และอุณหภูมิที่พอเหมาะต่อการผลิตสเปิร์ม จึงทำให้น้ำเชื้อมีคุณภาพ และมีปริมาณที่สามารถทำให้โอกาสมีลูกสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

         

 

  

 - หากบทความนี้ดีต่อใจ ชวนคนที่คุณรักมาเที่ยวกับฟรีเบิร์ดทัวร์กันค่ะ -   

สนใจโปรแกรมทัวร์สก็อตแลนด์คลิกที่นี่

 


คุยกับครอบครัวฟรีเบิร์ดทัวร์

โทร.02-0488-785-7 Hotline 085-151-1000 , 094-782-6888 และ 093-570-3000

    instagramfreebirdtour  twitter freebirdtour  Youtube freebirdtour    

 


Visitors: 410,486